วันพุธที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2552

1. การสร้างสื่อด้วยโปรแกรม Camtasia Studio 5
2. ขั้นตอนการใช้งานเมื่อเริ่มต้นการเรียนการสอน
3. ขั้นตอนการใช้งานเมื่อเริ่มต้นการเรียนการสอน (ต่อ)


4. การใส่ลูกเล่นต่างๆ ระหว่างบันทึก ของ Camtasia Recorder


Annotation Toolbar มีเครื่องมือดังนี้
1. Add System Stamp ใส่วันที่และเวลา
2. Add Caption ใส่ข้อความ
3. Add Watermark ใส่ลายน้ำ
4. AutoHighlight ทำไฮไลท์ในส่วนของพื้นที่ที่เมาส์ช
5. Highlight ทำไฮไลท์ในส่วนของพื้นที่ที่เลือก
6. ScreenDraw การใช้ปากกาเขียนบนหน้าจอระหว่างบันทึก

Audio Toolbar มีเครื่องมือดังนี้

1. Record Audio เลือกบันทึกเสียงจาก source ต่างๆ
2. Cursor Sounds บันทึกเสียงเมื่อคลิกเมาส์
3. Keyboard Sounds บันทึกเสียงเมื่อมีการพิมพ์บนแป้นคีย์บอร์ด
4. Mute ปิดการบันทึกเสียงทั้งหมด



Cursor Toolbar มีเครื่องมือดังนี้ 1. Hide Cursor ซ่อนเคอร์เซอร์
2. Show Cursor แสดงเคอร์เซอร์
3. Highlight Clicks แสดงไฮไลท์เมื่อคลิกเมาส์
4. Highlight Cursor แสดงไฮไลท์บนเคอร์เซอร์
5. Highlight Cursor and Click แสดงไฮไลท์บนเคอร์เซอร์และเมื่อคลิกเมาส์


Zoom & Pan Toolbar มีเครื่องมือดังนี้

1. AutoPan การเคลื่อนไปยังจุดที่ต้องการบันทึก บนหน้าจอ อัตโนมัติ
2. AutoZoom ซูมอัตโนมัติ
3. Zoom Out ซูมออก
4. Zoom In ซูมเข้า
5. Zoom To ซูมไปยังขนาดต่างๆ ตามต้องการ
6. Zoom Undo ยกเลิกการซูม



Camera Toolbar มีเครื่องมือดังนี้
1. Record Camera บันทึกภาพจากเว็บแคม
2. Camera Preview แสดงภาพที่บันทึกจากเว็บแคมขณะบันทึก














วันพุธที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ความบันเทิงกับสื่อมัลติมีเดีย
เราจะเห็นว่าชีวิตเราในปัจจุบันแวดล้อมไปด้วยสื่อมัลติมีเดียต่างๆ ทั้งที่ให้ความบันเทิง ให้สาระความรู้ และสื่อที่อำนวยความสะดวกต่างๆในชีวิตประจำวันของเราและที่สำคัญสื่อมัลติมีเดียเหล่านั้นมีราคาถูกลง แต่ประสิทธิภาพสูงขึ้นและใช้งานง่ายขึ้น (Home Used) ซึ่งเป็นผลดีในการนำมาใช้กับงานได้ในทุกรูปแบบโดบเฉพาะด้านความบันเทิงที่ปัจจุบันการนำสื่อมัลติมีเดียมาใช้เป็นที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากอาจจะเรียกว่าถึงขีดสูงสุดเลยก็ว่าได้ทั้งใช้ในด้านภาพยนต์ สื่อทีวีต่างๆ และด้านดนตรี โดยการใช้อุปกรณ์เป็นสื่ออุปกรณ์ด้านมัลติมีเดียต่างๆเหล่านี้ อาจแบ่งออกเป็น 4 หมวดได้คือ
1. อุปกรณ์มัลติมีเดียด้านเสียงเสียง เป็นอีกองค์ประกอบของมัลติมีเดีย อันจะช่วยให้เกิดบรรยากาศที่น่าสนใจในการรับรู้ทางหู โดยอาศัยจะนำเสนอในรูปของ เสียงประกอบ เพลงบรรเลง เสียงพูด เสียงบรรยาย หรือเสียงพากษ์ เป็นต้นลักษณะของเสียง ประกอบด้วยคลื่นเสียงแบบออดิโอ (Audio) ซึ่งมีฟอร์แมตเป็น .wav, .au การบันทึกจะบันทึกตามลูกคลื่นเสียง โดยมีการแปลงสัญญาณให้เป็นดิจิทัล และใช้เทคโนโลยีการบีบอัดเสียงให้เล็กลง (ซึ่งคุณภาพก็ต่ำลงด้วย)เสียง CD เป็นรูปแบบการบันทึก ที่มีคุณภาพสูง ได้แก่ เสียงที่บันทึกลงในแผ่น CD เพลงต่างๆMIDI (Musical Instrument Digital Interface) เป็นรูปแบบของเสียงที่แทนเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ สามารถเก็บข้อมูล และให้วงจรอิเล็กทรอนิกส์ สร้างเสียงตามตัวโน้ต เสมือนการเล่นของเครื่องเล่นดนตรีนั้นๆ
2. อุปกรณ์มัลติมีเดียด้านภาพภาพกราฟิก (Graphics) เป็นสื่อในการนำเสนอที่ดี เนื่องจากมีสีสรร มีรูปแบบที่น่าสนใจ สามารถสื่อความหมายได้กว้าง ประกอบด้วยภาพบิตแมพ (Bitmap) เป็นภาพที่มีการเก็บข้อมูลแบบพิกเซล หรือจุดเล็กๆ ที่แสดงค่าสี ดังนั้นภาพหนึ่งๆ จึงเกิดจากจุดเล็กๆ หลายๆ จุดประกอบกัน (คล้ายๆ กับการปักผ้าครอสติก) ทำให้รูปภาพแต่ละรูป เก็บข้อมูลจำนวนมาก เมื่อจะนำมาใช้ จึงมีเทคนิคการบีบอัดข้อมูล ฟอร์แมตของภาพบิตแมพ ที่รู้จักกันดี ได้แก่ .BMP, .PCX, .GIF, .JPG, .TIFภาพเวกเตอร์ (Vector) เป็นภาพที่สร้างด้วยส่วนประกอบของเส้นลักษณะต่างๆ และคุณสมบัติเกี่ยวกับสีของเส้นนั้นๆ ซึ่งสร้างจากการคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น ภาพของคน ก็จะถูกสร้างด้วยจุดของเส้นหลายๆ จุด เป็นลักษณะของโครงร่าง (Outline) และสีของคนก็เกิดจากสีของเส้นโครงร่างนั้นๆ กับพื้นที่ผิวภายในนั่นเอง เมื่อมีการแก้ไขภาพ ก็จะเป็นการแก้ไขคุณสมบัติของเส้น ทำให้ภาพไม่สูญเสียความละเอียด เมื่อมีการขยายภาพนั่นเอง
3. อุปกรณ์มัลติมีเดียด้านสิ่งพิมพ์ด้านสิ่งพิมพ์จะใช้มัลติมีเดียในการสร้างรูปแบบของสิ่งพิมพ์ให้ดูโดดเด่นน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
4. อุปกรณ์มัลติมีเดียด้านสื่อสารด้านการสื่อสารมัลติมีเดียจะช่วยให้ความบันเทิงด้านการสื่อสารมีประสิทธิภาพมากกว่าอดีตมากเนื่องจากว่ามัลติมีเดียช่วยให้การสื่อสารชัดเจนมากขึ้น